กฎหมายไทย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย
ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย
คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง
หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐหรือผ็มีอำนาจสูงสุดเพื่อใช้เป็นเครื่อง
มือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม และมีสภาพบังคับเป็นเครื่องมือในการทำให้บุคคลในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับนั้น
มนุษย์
ถือได้ว่าเป็นสัตว์สังคมจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
แต่เนื่องจากความคิด อุปนิสัย สภาพแวดล้อม เพศ ฯลฯ ที่แตกต่างกันไป
จึงจำเป็นจะต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย
กฎหมายบางอย่างก็กำหนดขึ้นเป็นขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งความ
สงบเรียบร้อย หรือเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์
นอกจากนี้การบัญญัติกฎหมายเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้คนในสังคมปฏิบัติตามในแนว
ทางเดียวกัน ก็จะสร้างความเป็นระเบียบให้เกิดขึ้นอีกด้วย
เหล่านี้ถือเป็นเป้าหมายอันสำคัญของสังคม
ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนี้เมื่อคิดย้อนกลับไปแล้ว ก็จะมาจากคนในสังคมนั่นเอง
ที่มาของกฎหมาย
1.ศีลธรรม
คือกฎเกณฑ์ของความประพฤติ คำๆนี้ฟังเข้าใจง่ายแต่อธิบายออกมาได้ยากมาก
เพราะเป็นสิ่งที่แต่ละคนเข้าใจได้ในตัวเองและมีความหมายที่แตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สภาพแวดล้อม ฯลฯ
แต่อย่างไรก็ความหมายของศีลธรรมของแต่ละคนก็จะมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน
แม้อาจจะแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่โดยหลักแล้วก็จะ
หมายถึง
ความรู้สึกผิดชอบหรือความดีงามต่างๆที่ทำให้คนเราสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้
โดยสงบสุข ดังนั้นการบัญญัติกฎหมายจึงต้องใช้ศีลธรรมเป็นรากฐาน
เพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมให้มากที่สุดนั่นเอง
2.จารีต
ประเพณี คือแบบแผนที่คนในสังคมยอมรับและถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน
แต่ละสังคมก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่สภาพแวดล้อม ศาสนา
เชื้อชาติ ฯลฯ
3.ศาสนา
คือหลักการดำเนินชีวิตหรือข้อบังคับที่ศาสดาของแต่ละศาสนาบัญญัติขึ้นเพื่อ
สอนให้คนทุกคนเป็นคนดี เมื่อพูดถึงศาสนาเราก็อาจนึกไปถึงศีลธรรม
เพราะสองคำนี้มักจะมาคู่กัน
แต่คำว่าศีลธรรมจะมีความหมายกว้างกว่าคำว่าศาสนา
เพราะศีลธรรมอาจหมายความรวมเอาหลักคำสอนของทุกศาสนามารวมไว้และความดีงาม
ต่างๆไว้ในคำๆเดียวกัน
4.คำ
พิพากษาของศาล
มีเฉพาะบางประเทศเท่านั้นที่ถือเอาคำพิพากษาของศาลมาจัดทำเป็นกฎหมาย เช่น
ประเทศอังกฤษ
คือใช้จารีตประเพณีมาพิจารณาพิพากษาคดีและเพื่อไม่ให้มีกรณีเดียวกันนี้เกิด
ขึ้นซ้ำอีกก็จะนำคำพิพากษานั้นมาจัดทำเป็นกฎหมายเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตาม
หากมีคดีที่มีข้อเท็จจริงเหมือนกันเกิดขึ้นอีก
ศาลก็จะตัดสินเหมือนกับคดีก่อนๆ
แต่ในหลายๆประเทศคำพิพากษาเป็นเพียงแนวทางในการพิจารณาพิพากษาของศาลเท่า
นั้น ศาลอาจใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาต่างจากคดีก่อนๆได้
จึงไม่ถือคำพิพากษาของศาลเป็นกฎหมาย เช่น ประเทศไทยเราเป็นต้น
5.หลักความยุติธรรม(Equity)
หลักความยุติธรรมนี้จะต้องมาควบคู่กับกฎหมายเสมอ
เพียงแต่ความยุติธรรมของแต่ละคนก็อาจไม่เท่ากัน
แต่อย่างไรก็ดีผู้บัญญัติและผู้ใช้กฎหมายก็จะต้องคำนึงถึงหลักความยุติธรรม
ด้วยและความยุติธรรมนี้ควรจะอยู่ในระดับที่คนในสังคมส่วนใหญ่ยอมรับ
เพราะถ้าเป็นความยุติธรรมโดยคำนึงถึงคนส่วนน้อยมากกว่า
ก็จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น
ทำให้ไม่เกิดความยุติธรรมแก่สังคมโดยแท้จริง
6.ความ
คิดเห็นของนักปราชญ์ ก็คือผู้ทรงความรู้ในทางกฎหมายนั่นเอง
อาจจะเป็นนักวิชาการ หรืออาจารย์สอนกฎหมายก็ตาม
เนื่องจากนักปราชญ์เหล่านี้จะเป็นผู้ค้นคว้าหลักการและทฤษฎีต่างๆเพื่อสนับ
สนุนหรือโต้แย้งกฎหมายหรือคำพิพากษาของศาลอยู่เสมอ
ทำให้เกิดหลักการหรือทฤษฎีใหม่ๆที่เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายได้
ระบบกฎหมาย
ระบบกฎหมายหลักๆในโลกนี้มีอยู่ 4 ระบบใหญ่ๆด้วยกัน คือ
1.ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์(Civil Law)
2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์(Common Law)
3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Socialist Law)
4.ระบบ
กฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม
ลำดับชั้นของกฎหมายในประเทศไทย(ศักดิ์กฎหมาย)
ลำดับ
ชั้นของกฎหมายมีไว้เพื่อบ่งบอกถึงระดับสูงต่ำและความสำคัญของกฎหมายแต่ละ
ประเภทรวมไปถึงภาพรวมของกฎหมายที่ใช้กัน
กฎหมายที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะมีผลยกเลิกหรือขัดต่อกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูง
กว่าไม่ได้ ซึ่งเราจัดลำดับได้ดังนี้
2.กฎหมายที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจแก่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ได้แก่ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด กฎหมายเหล่านี้ถือว่ามีศักดิ์เป็นลำดับที่สองรองจากรัฐธรรมนูญ
-พระ
ราชบัญญัติ
-พระ
ราชกำหนด
3.กฎหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ได้แก่ พะราชกฤษฎีกา กฎกระทรง
4.กฎหมาย
ที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ออก ได้แก่ เทศบัญญัติ
ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
ข้อบัญญัติเมืองพัทยา
การที่จะทำให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1.การประกาศใช้กฎหมายเพื่อให้ประชาชนทราบ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบว่ามีกฎหมายใดออกมาใช้บังคับแล้ว ก็จะมีการจัดพิมพ์ “ราชกิจจานุเบกษา” ซึ่ง
จัดพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ทุกๆสัปดาห์เพื่อประกาศให้ประชาชนและหน่วยงานราชการทราบ
ถึงกฎหมาย คำสั่ง
ระเบียบข้อบังคับรวมไปถึงข้อเท็จจริงที่สำคัญอย่างใดๆหรือข้อเท็จจริงซึ่งมี
กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา
เมื่อมีการประกาศแล้วให้ถือว่าประชาชนทุกคนทราบโดยถ้วนหน้ากัน
ประชาชนจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้
ดังที่มีหลักทั่วไปในการใช้บังคับกฎหมายว่า “ความไม่รู้กฎหมาย ไม่เป็นข้อแก้ตัว”
2.วัน
เริ่มใช้กฎหมาย
ก็คือวันที่กำหนดให้กฎหมายที่ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วมีผลบังคับ
ใช้นั่นเอง
โดยปกติเมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายก็จะมีการกำหนดวันใช้บังคับไว้ในกฎหมาย
ซึ่งก็มีดังนี้
-กำหนด
ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
คือมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใดก็มีผลใช้บังคับในวันนั้นทันที
ใช้ในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วนหากใช้บังคับล่าช้าไปอาจทำให้มีผลเสียหายเกิด
ขึ้นได้
-ให้
ใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
คือมีผลใช้บังคับถัดในวันถัดไปหลังจากวันที่ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา
เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสทราบล่วงหน้าก่อนหนึ่งวัน ซึ่ง
เป็นวิธีที่ใช้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ
-กำหนด
ให้ใช้ในอนาคต
คือกำหนดให้มีผลใช้บังคับภายหลังที่มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาหลายๆวัน
เพื่อให้ทางราชการ
เจ้าพนักงานและประชาชนเตรียมพร้อมหรือที่จะปฏิบัติตามกฎหมายนั้น
-ใน
กรณีที่ไม่ได้กำหนดวันใช้บังคับไว้
คือมีการประกาศให้ประชาชนทราบแต่ไม่ได้กำหนดว่ากฎหมายที่ประกาศนั้นจะให้มี
ผลใช้บังคับเมื่อใด วันที่มีผลใช้บังคับอาจกำหนดขึ้นตามมาภายหลัง
***กฎหมาย
จะไม่มีผลย้อนหลังในทางเป็นโทษ คือ
เมื่อมีกฎหมายใหม่ออกมาหรือมีการแก้ไขกฎหมายในทางที่เป็นโทษแก่บุคคลใด
ก็จะมีผลตั้งแต่วันที่กำหนดให้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไปเท่านั้น
จะไม่มีผลย้อนไปก่อนวันที่กำหนดให้กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ
แต่
กฎหมายจะมีผลย้อนหลังในทางที่เป็นคุณ คือ
เมื่อมีกฎหมายใหม่ออกมาหรือมีการแก้ไขกฎหมายในทางที่เป็นประโยชน์แก่บุคคล
ก็จะมีผลใช้บังคับย้อนหลังไปก่อนวันที่กำหนดให้กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับด้วย
เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติว่า “ถ้า
กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับ
กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วน
ที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด...” ฯลฯ
3.สถาน
ที่ใช้กฎหมาย
กฎหมายย่อมใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักรเว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะว่า
กฎหมายใดให้ใช้เฉพาะในท้องที่ใด
หรือให้ใช้บังคับแก่การกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร
4.บุคคล
ที่กฎหมายใช้บังคับ โดยทั่วไปแล้วกฎหมายย่อมใช้บังคับแก่บุคคลในสังคม
แต่ก็มีข้อยกเว้นแก่บุคคลบางประเภทซึ่งกฎหมายไม่อาจใช้บังคับด้วยได้
แต่บุคคลเหล่านั้นต้องมีกฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้โดยชัดแจ้ง เช่น
-ตาม
กฎหมายไทย รัฐธรรมนูญกำหนดว่ากฎหมายจะไม่ใช้บังคับแก่พระมหากษัตริย์
เพราะถือว่าทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ
ผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้
ผู้ใดจะฟ้องพระมหากษัตริย์เป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้ทั้งสิ้น ฯลฯ
-ตาม
กฎหมายอื่น เช่น
ตามกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดว่าจะไม่ใช้กฎหมายภายในประเทศของตนบังคับแก่
ฑูต บุคคลในคณะฑูตหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ
เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่บุคคลดังกล่าว ฯลฯ
5.การ
ใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง
ก็คือการนำบทบัญญัติของกฎหมายไปปรับเข้ากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
และสรุปออกมาว่าจะมีผลทางกฎหมายอย่างไรบ้างนั่นเอง ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดในภายหลัง
ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับกฎหมาย
กฎหมาย
เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งเพื่อทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบและสงบสุข
ซึ่งด้วยข้อจำกัดหลายๆประการทำให้กฎหมายไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ในทุกๆเรื่อง
เป็นผลทำให้เราคิดว่ากฎหมายไม่ดีบ้าง กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง
ไม่มีใครเกรงกลัวกฎหมายบ้าง และมีการแก้ไขกันอยู่เรื่อยไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น