วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556




          "นิติศาสตร์มหาสารคามงานล้ำค่า 
 เลิศล้ำปัญญา รักศรัทธา สามัคคี  "


       สนุกรู้สนุกเรียนด้วยบรรยากาศที่อบอุ่น พร้อมกิจกรรมที่สร้างสรรค์ เพราะ ที่นี้คือบ้านหลังที่สองของพวกเรา ก้าวไปกับเรา สาขา นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม



 ที่ตั้ง  วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 
        (ม.ใหม่)  ตรงข้ามตึก สำนักงานอธิการบดี




กิจกรรมของสาขานิติศาสตร์


 และนี่คือ คือภาพแห่งความประทับใจอีกอย่างของพวกเรา นิติศาสตร์มหาสารคาม 
 วีดีโอนี้เป็นการรับน้องในการสอบสันภาษณ์ ของสาขานิติศาตร์






ประกวดดาวเดือน ปี 2556



หรีด สาขานิติศาสตร์

ไปแสดงโชว์ในการแข่งขันกีฬาประเภณี นิติศาสตร์ มหาลัยมหาสารคาม
 กับ นิติศาสตร์ ราชภัฏมหาสารคาม


ดิฉันซึ่งเป็นนิสิต สาขา นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ดิฉันภูมิใจมากที่เลือกมาเรียนที่นี่ เรียนนิติศาสตร์ เพราะนอกจากจะได้ความรู้ต่างๆแล้ว นิติศาสตร์ยังสอนให้ ดิฉันมีเหตุผลด้วย  

"ฉันรักนิติศาสตร์"








กฎหมายไทย




ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย


ความหมายของกฎหมาย
    
     กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับที่ถูกตั้งขึ้นโดยรัฐหรือผ็มีอำนาจสูงสุดเพื่อใช้เป็นเครื่อง มือสำหรับดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอย่างหนึ่งอย่างใดของสังคม และมีสภาพบังคับเป็นเครื่องมือในการทำให้บุคคลในสังคมต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อบังคับนั้น
     มนุษย์ ถือได้ว่าเป็นสัตว์สังคมจำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน แต่เนื่องจากความคิด อุปนิสัย สภาพแวดล้อม เพศ ฯลฯ ที่แตกต่างกันไป จึงจำเป็นจะต้องมีกฎหมายเพื่อควบคุมให้สังคมมีความสงบเรียบร้อย กฎหมายบางอย่างก็กำหนดขึ้นเป็นขั้นตอนหรือวิธีปฏิบัติเพื่อให้ได้มาซึ่งความ สงบเรียบร้อย หรือเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ นอกจากนี้การบัญญัติกฎหมายเพื่อเป็นบรรทัดฐานให้คนในสังคมปฏิบัติตามในแนว ทางเดียวกัน ก็จะสร้างความเป็นระเบียบให้เกิดขึ้นอีกด้วย เหล่านี้ถือเป็นเป้าหมายอันสำคัญของสังคม ซึ่งเป้าหมายดังกล่าวนี้เมื่อคิดย้อนกลับไปแล้ว ก็จะมาจากคนในสังคมนั่นเอง 


ที่มาของกฎหมาย

     1.ศีลธรรม คือกฎเกณฑ์ของความประพฤติ คำๆนี้ฟังเข้าใจง่ายแต่อธิบายออกมาได้ยากมาก เพราะเป็นสิ่งที่แต่ละคนเข้าใจได้ในตัวเองและมีความหมายที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สภาพแวดล้อม ฯลฯ แต่อย่างไรก็ความหมายของศีลธรรมของแต่ละคนก็จะมีมาตรฐานใกล้เคียงกัน แม้อาจจะแตกต่างกันออกไปบ้าง  แต่โดยหลักแล้วก็จะ หมายถึง ความรู้สึกผิดชอบหรือความดีงามต่างๆที่ทำให้คนเราสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้ โดยสงบสุข ดังนั้นการบัญญัติกฎหมายจึงต้องใช้ศีลธรรมเป็นรากฐาน เพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมให้มากที่สุดนั่นเอง

     2.จารีต ประเพณี คือแบบแผนที่คนในสังคมยอมรับและถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน แต่ละสังคมก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่สภาพแวดล้อม ศาสนา เชื้อชาติ ฯลฯ

     3.ศาสนา คือหลักการดำเนินชีวิตหรือข้อบังคับที่ศาสดาของแต่ละศาสนาบัญญัติขึ้นเพื่อ สอนให้คนทุกคนเป็นคนดี เมื่อพูดถึงศาสนาเราก็อาจนึกไปถึงศีลธรรม เพราะสองคำนี้มักจะมาคู่กัน แต่คำว่าศีลธรรมจะมีความหมายกว้างกว่าคำว่าศาสนา เพราะศีลธรรมอาจหมายความรวมเอาหลักคำสอนของทุกศาสนามารวมไว้และความดีงาม ต่างๆไว้ในคำๆเดียวกัน

     4.คำ พิพากษาของศาล มีเฉพาะบางประเทศเท่านั้นที่ถือเอาคำพิพากษาของศาลมาจัดทำเป็นกฎหมาย เช่น ประเทศอังกฤษ คือใช้จารีตประเพณีมาพิจารณาพิพากษาคดีและเพื่อไม่ให้มีกรณีเดียวกันนี้เกิด ขึ้นซ้ำอีกก็จะนำคำพิพากษานั้นมาจัดทำเป็นกฎหมายเพื่อให้ทุกคนปฏิบัติตาม หากมีคดีที่มีข้อเท็จจริงเหมือนกันเกิดขึ้นอีก ศาลก็จะตัดสินเหมือนกับคดีก่อนๆ แต่ในหลายๆประเทศคำพิพากษาเป็นเพียงแนวทางในการพิจารณาพิพากษาของศาลเท่า นั้น ศาลอาจใช้ดุลพินิจพิจารณาพิพากษาต่างจากคดีก่อนๆได้ จึงไม่ถือคำพิพากษาของศาลเป็นกฎหมาย เช่น ประเทศไทยเราเป็นต้น

     5.หลักความยุติธรรม(Equity) หลักความยุติธรรมนี้จะต้องมาควบคู่กับกฎหมายเสมอ เพียงแต่ความยุติธรรมของแต่ละคนก็อาจไม่เท่ากัน แต่อย่างไรก็ดีผู้บัญญัติและผู้ใช้กฎหมายก็จะต้องคำนึงถึงหลักความยุติธรรม ด้วยและความยุติธรรมนี้ควรจะอยู่ในระดับที่คนในสังคมส่วนใหญ่ยอมรับ เพราะถ้าเป็นความยุติธรรมโดยคำนึงถึงคนส่วนน้อยมากกว่า ก็จะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้คนเพียงบางกลุ่มเท่านั้น ทำให้ไม่เกิดความยุติธรรมแก่สังคมโดยแท้จริง

     6.ความ คิดเห็นของนักปราชญ์ ก็คือผู้ทรงความรู้ในทางกฎหมายนั่นเอง อาจจะเป็นนักวิชาการ หรืออาจารย์สอนกฎหมายก็ตาม เนื่องจากนักปราชญ์เหล่านี้จะเป็นผู้ค้นคว้าหลักการและทฤษฎีต่างๆเพื่อสนับ สนุนหรือโต้แย้งกฎหมายหรือคำพิพากษาของศาลอยู่เสมอ ทำให้เกิดหลักการหรือทฤษฎีใหม่ๆที่เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายได้

ระบบกฎหมาย

ระบบกฎหมายหลักๆในโลกนี้มีอยู่ 4 ระบบใหญ่ๆด้วยกัน คือ 
     1.ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์(Civil Law)
     2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์(Common Law)
     3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Socialist Law)
     4.ระบบ กฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม 


ลำดับชั้นของกฎหมายในประเทศไทย(ศักดิ์กฎหมาย)

     ลำดับ ชั้นของกฎหมายมีไว้เพื่อบ่งบอกถึงระดับสูงต่ำและความสำคัญของกฎหมายแต่ละ ประเภทรวมไปถึงภาพรวมของกฎหมายที่ใช้กัน กฎหมายที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าจะมีผลยกเลิกหรือขัดต่อกฎหมายที่มีลำดับชั้นสูง กว่าไม่ได้ ซึ่งเราจัดลำดับได้ดังนี้

     1.กฎหมายแม่บทที่มีศักดิ์สูงที่สุด ได้แก่ รัฐธรรมนูญ 
                                                                                                          

     2.กฎหมายที่รัฐธรรมนูญให้อำนาจแก่ฝ่ายนิติบัญญัติหรือฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ได้แก่ ประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด กฎหมายเหล่านี้ถือว่ามีศักดิ์เป็นลำดับที่สองรองจากรัฐธรรมนูญ
     -ประมวล

     -พระ ราชบัญญัติ
     -พระ ราชกำหนด 
     3.กฎหมายที่ฝ่ายบริหารเป็นผู้ออก ได้แก่ พะราชกฤษฎีกา กฎกระทรง
     4.กฎหมาย ที่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ออก ได้แก่ เทศบัญญัติ ข้อบัญญัติจังหวัด ข้อบังคับสุขาภิบาล ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ข้อบัญญัติเมืองพัทยา
 

การใช้บังคับกฎหมาย
                                                                                              

                            การที่จะทำให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
     1.การประกาศใช้กฎหมายเพื่อให้ประชาชนทราบ เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบว่ามีกฎหมายใดออกมาใช้บังคับแล้ว ก็จะมีการจัดพิมพ์ ราชกิจจานุเบกษาซึ่ง จัดพิมพ์ขึ้นเผยแพร่ทุกๆสัปดาห์เพื่อประกาศให้ประชาชนและหน่วยงานราชการทราบ ถึงกฎหมาย คำสั่ง ระเบียบข้อบังคับรวมไปถึงข้อเท็จจริงที่สำคัญอย่างใดๆหรือข้อเท็จจริงซึ่งมี กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะมีผลสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อมีการประกาศแล้วให้ถือว่าประชาชนทุกคนทราบโดยถ้วนหน้ากัน ประชาชนจะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่ได้ ดังที่มีหลักทั่วไปในการใช้บังคับกฎหมายว่า ความไม่รู้กฎหมาย ไม่เป็นข้อแก้ตัว

     2.วัน เริ่มใช้กฎหมาย ก็คือวันที่กำหนดให้กฎหมายที่ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้วมีผลบังคับ ใช้นั่นเอง โดยปกติเมื่อมีการประกาศใช้กฎหมายก็จะมีการกำหนดวันใช้บังคับไว้ในกฎหมาย ซึ่งก็มีดังนี้
     -กำหนด ให้ใช้ตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือมีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใดก็มีผลใช้บังคับในวันนั้นทันที ใช้ในกรณีที่จำเป็นเร่งด่วนหากใช้บังคับล่าช้าไปอาจทำให้มีผลเสียหายเกิด ขึ้นได้
     -ให้ ใช้ตั้งแต่วันถัดจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา คือมีผลใช้บังคับถัดในวันถัดไปหลังจากวันที่ได้ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสทราบล่วงหน้าก่อนหนึ่งวัน ซึ่ง เป็นวิธีที่ใช้ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ
     -กำหนด ให้ใช้ในอนาคต คือกำหนดให้มีผลใช้บังคับภายหลังที่มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาหลายๆวัน เพื่อให้ทางราชการ เจ้าพนักงานและประชาชนเตรียมพร้อมหรือที่จะปฏิบัติตามกฎหมายนั้น
     -ใน กรณีที่ไม่ได้กำหนดวันใช้บังคับไว้ คือมีการประกาศให้ประชาชนทราบแต่ไม่ได้กำหนดว่ากฎหมายที่ประกาศนั้นจะให้มี ผลใช้บังคับเมื่อใด วันที่มีผลใช้บังคับอาจกำหนดขึ้นตามมาภายหลัง
     ***กฎหมาย จะไม่มีผลย้อนหลังในทางเป็นโทษ คือ เมื่อมีกฎหมายใหม่ออกมาหรือมีการแก้ไขกฎหมายในทางที่เป็นโทษแก่บุคคลใด ก็จะมีผลตั้งแต่วันที่กำหนดให้มีผลใช้บังคับเป็นต้นไปเท่านั้น จะไม่มีผลย้อนไปก่อนวันที่กำหนดให้กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับ
     แต่ กฎหมายจะมีผลย้อนหลังในทางที่เป็นคุณ คือ เมื่อมีกฎหมายใหม่ออกมาหรือมีการแก้ไขกฎหมายในทางที่เป็นประโยชน์แก่บุคคล ก็จะมีผลใช้บังคับย้อนหลังไปก่อนวันที่กำหนดให้กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับด้วย เช่น ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 บัญญัติว่า ถ้า กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับ กฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิด ให้ใช้กฎหมายในส่วน ที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิด ไม่ว่าในทางใด... ฯลฯ

     3.สถาน ที่ใช้กฎหมาย กฎหมายย่อมใช้บังคับได้ทั่วราชอาณาจักรเว้นแต่จะมีบทบัญญัติเป็นการเฉพาะว่า กฎหมายใดให้ใช้เฉพาะในท้องที่ใด หรือให้ใช้บังคับแก่การกระทำหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนอกราชอาณาจักร

     4.บุคคล ที่กฎหมายใช้บังคับ โดยทั่วไปแล้วกฎหมายย่อมใช้บังคับแก่บุคคลในสังคม แต่ก็มีข้อยกเว้นแก่บุคคลบางประเภทซึ่งกฎหมายไม่อาจใช้บังคับด้วยได้ แต่บุคคลเหล่านั้นต้องมีกฎหมายบัญญัติยกเว้นไว้โดยชัดแจ้ง เช่น
     -ตาม กฎหมายไทย รัฐธรรมนูญกำหนดว่ากฎหมายจะไม่ใช้บังคับแก่พระมหากษัตริย์ เพราะถือว่าทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะล่วงละเมิดไม่ได้ ผู้ใดจะฟ้องพระมหากษัตริย์เป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญาไม่ได้ทั้งสิ้น ฯลฯ
     -ตาม กฎหมายอื่น เช่น ตามกฎหมายระหว่างประเทศกำหนดว่าจะไม่ใช้กฎหมายภายในประเทศของตนบังคับแก่ ฑูต บุคคลในคณะฑูตหรือประมุขของรัฐต่างประเทศ เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่บุคคลดังกล่าว ฯลฯ

     5.การ ใช้กฎหมายกับข้อเท็จจริง ก็คือการนำบทบัญญัติของกฎหมายไปปรับเข้ากับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น และสรุปออกมาว่าจะมีผลทางกฎหมายอย่างไรบ้างนั่นเอง  ซึ่งจะกล่าวโดยละเอียดในภายหลัง

ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับกฎหมาย

     กฎหมาย เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งเพื่อทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบและสงบสุข ซึ่งด้วยข้อจำกัดหลายๆประการทำให้กฎหมายไม่อาจแก้ไขปัญหาได้ในทุกๆเรื่อง เป็นผลทำให้เราคิดว่ากฎหมายไม่ดีบ้าง กฎหมายไม่ศักดิ์สิทธิ์บ้าง ไม่มีใครเกรงกลัวกฎหมายบ้าง และมีการแก้ไขกันอยู่เรื่อยไป
                                                                                      
                                                                                                            
พระบิดาแห่งกฎหมายไทย
             

พระประวัติ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
        ทรงมีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็น พระราชโอรสองค์ที่ ๑๔ ในสมเด็จพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( พระปิยมหาราช ) รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ธิดาพระยาพระยา เวียงในนฤบาล ประสูติ วันพุธ ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ปีจอ ฉศก จุลศักราช ๑๒๑๗ ตรงกับวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๔๑๗

 

การศึกษา
       พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงเข้าศึกษาวิชาภาษาไทยครั้งแรกในสำนักพระยาศรี สุนทรโวหาร(น้อย อาจารยางกูร) แล้วทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้น ในสำนักครูรามสามิ และในปี พ.ศ. ๒๔๒๖ ได้ทรงเข้าศึกษา ภาษาไทยอยู่ใน สำนักพระยาโอวาทวรกิจ (แก่น เปรียญ ) ณ พระตำหนักสวนกุหลาบ พระองค์ได้เข้าพิธีพระราชโสกันต์ในวันที่ ๒๖ ธันวาคม ๒๔๒๗ และทรงผนวชเป็นสามเณรที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวิริยาลงกรณ์ เป็นพระอุปัชฌายะ    หลังจากเสร็จพระราชพิธีสมโภชแล้วจึงทรงเสด็จ     มาประทับที่ วัดบวรนิเวศวิหาร   ในวันศุกร์ที่   ๒๙ พฤษภาคม   พุทธศักราช    ๒๔๒๘    จึงลาสิกขาเสด็จกลับเข้าประทับในพระบรมหมาราชวัง รวมเวลาที่พระองค์ได้ ้ทรงผนวช ทั้งสิ้น ๒๒ วัน
        ต่อมาในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๔๓๑ ได้เสด็จไปประเทศอังกฤษ และทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมอยู่นกรุงลอนดอนเป็น เวลา   ๓   ปี   เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้ทรงเลือกศึกษาวิชา   กฎหมายต่อที่วิทยาลัยไครส์ตเชิช มหาวิทยาลัยออกฟอร์ด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓ เมื่อได้ทรงเข้าศึกษาในวิทยาลัย   ไครส์ตเชิช   แล้วได้ทรงอุตสาหะเอาพระทัยใส่เป็นอย่างมาก ในที่สุดได้ทรงสอบ ไล่ผ่านทุกวิชาตามหลักสูตร ได้รับปริญญาตรีเกียรตินิยม ในทางกฎหมายของมหาวิทยาลัย ภายในเวลา ๓ ปี ช่วงขณะนั้นทรงมี พระชนมายุเพียง 20 พรรษา
         เนื่องจากช่วงเวลานั้น    ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาต่าง ๆ มากมาย   โดยเฉพาะการรุกรานของฝรั่งเศส ในพุทธ ศักราช   ๒๔๓๖ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ได้เสด็จกลับประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงฝึกหัดราชการในกรม ราชเลขานุการ และได้ทรงศึกษากฎหมาย ไทยทั้งหมดที่หม่อมลัดเลย์ได้พิมพ์ไว้   พระองค์ทรงแตกฉานในกฎหมายไทยและสามารถปฏิบัติราชการได้อย่างคลองแคล้ว
        
 

พระราชกรณียกิจ
          - เมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ขึ้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ในขณะที่ทรงมี พระชนมายุได้ ๒๒ พรรษา ทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นลำดับที่ ๓ และทรงวางระเบียบศาลยุติธรรมโดยออกเป็นกฎเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม ( พิจารณาความแพ่ง , พิจารณาอาญา ในปีพุทธศักราช ๒๔๗๘ ) พระองค์ทรงจัดให้มีการสอนวิชากฎหมายขึ้นเป็นการแพร่หลาย ให้โอกาสบุคคลที่สนใจทั่วไป เข้าศึกษาได้ ทรงตั้งโรงเรียนกฎหมายขึ้นมา  
          - เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ เป็นการเปิดการสอนกฎหมายครั้งแรก  
          - ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ทรงได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ สถาปนาพระอิสริยศักดิ์เป็นกรมหมื่น โดยมีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฎว่า พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์
          - เมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๓ ได้ทรงดำริจัดตั้งกรมพิมพ์ลายมือขึ้นที่กรงลหุโทษ และได้ทรงสอนวิธีตรวจเส้นลายมือและวิธีเก็บพิมพ์ลายมือ สำหรับตรวจพิมพ์ลายมือผู้ต้องหาในคดีอาญา
          - ครั้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓ กรมหลวงราชบุรีฯ ทรงทำหนังสือกราบบังคมทูลว่าประชวร โดยมีอาการปวดพระเศียร คิดและทำอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น หมอไรเตอร์ตรวจพระอาการแล้วว่าต้องหยุดการทำงาน พักรักษาพระองค์
          - ในปีพุทธศักราช ๒๔๕๕ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสร็จในกรม ฯ กลับรับราชการเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตรธิการตามประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ ๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๕๕   และทรงดำรงตำแหน่งเพียงปีเดียวก็ได้รับพระบรมราชโองการเลื่อนขึ้นเป็นพระ เจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ลงวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๕๕
          
           จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๖๒ เสด็จในกรมฯ ทรงประชวร ด้วย พระวัณโรคที่พระวักกะ จึงทรงกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีเพื่อเปิดโอกาสให้ทรงเลือกสรรให้ ผู้อื่นได้รับหน้าที่ต่อไป และได้เสด็จ ไปรักษาพระองค์ ณ กรุงปารีส แต่พระอาการก็หาทุเลาขึ้นไม่ จนกระทั่งในวันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๖๓   เวลา ๒๑.๐๐ น. พระองค์ก็เสด็จสิ้นพระชน ณ กรุงปารีส นับพระชนมายุได้ ๔๗ พรรษา อันนำความเศร้า โศกเสียใจมาสู่วงการนักกฎหมายไทยยิ่งนัก ด้วยเหตุที่ทรงมีพระคุณต่อประเทศชาติและนักกฎหมายทั้งปวงเป็นอเนกประการ ด้วยพระเกียรติคุณอันจะสุดพรรณนา ทำให้ประชาชนทั่วไป ถวาย พระสมญานามว่า     “ พระบิดาและปรมาจารย์แห่งนักกฎหมายไทย ” และ เรียกวันที่ ๗ สิงหาคม ของทุกปี ว่าวัน “ รพี ” 




ประดวดดาวเดือน สาขานิติศาสตร์ มมส ประจำปี 2256
                             



            ซึ่งการประกวดในครั้งนี้เราได้ตัวแทนจากสาขานิติศาสตร์เพื่อไปประกวดในคณะ 4 คน คือชาย

เป็นตัวแทนเดือน 2 คน และหญิงซึ่งเป็นตัวแทนดาว 2 คน


                                                 


            และจากการประกวดของคณะเสร็จลงเป็นอันว่า สาขานิติศาสตร์เรา ได้รองเดือนของคณะ คือ รองชนะเลิศอันดับ1  และรองชนะเลิศอันดับที่ 3  และที่สำคัญสาขานิติศาสตร์เราได้รับรางวัล ชนะเลิศ และรองชนะเลิศลำดับที่ 1 ของการประกวดดาวเดือนด้วย ซึ่งสร้างความปราบปลื้ม และยินดีของเราชาวนิติศาสตร์เป็นอย่างยิ่งเพราะเราต่างเชื่อว่า นิติศาสตร์ ต้องทำได้ 




                 หลังจากประกวดของคณะลง เราก็ได้เป็นตัวแทนไปปประกวดดาวเดือนของมหาวิมยาลัยมหาสารคาม ซึ่งน้องสามารถทำได้ดีมาก เพราะการขยันหมั่นซ้อม และความตั้งใจของน้องเอง น้องจึงสามารถเข้าไปยืนในจุดที่ลึกมาก และสามารถคว้ารางวัลกลับมาให้พี่น้องชาวนิติศาสตร์ด้วย คือ รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่2 ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม


                                                         รางวัลแห่งความภาคภูมิใจ




     เมื่อเราเลือกที่จะมาเรียนนิติศาสตร์ เราต้องรู้จักเรียนรู้กฏหมายเบื้องต้นซักหน่อย ก่อนที่ไปไปเรียนในเนื้อหาที่อัดแน่นมากกว่านี้

เรียนรูเรื่องกฏหมาย เกี่ยวกับกฏหมายแพ่ง




ขอบคุณสำหรับวีดีโอจาก http://www.youtube.com/