แลเมืองเกินร้อย...
" สิบเอ็ดประตูเมืองงาม
เรืองนามพระสูงใหญ่ ผ้าไหมสาเกตุ บุญผะเหวดประเพณี มหาเจดีย์ชัยมงคล
งามหน้ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา โลกลือชาข้าวหอมมะลิ…"
นี่เป็นคำขวัญของ "ร้อยเอ็ด" จังหวัดที่อยู่ตอนกลางของภาคอีสาน บริเวณลุ่มน้ำภาชี มีความเจริญรุ่งเรืองมากในยุคประวัติศาสตร์ และมีความหลากหลายในแง่ของศาสนาและวัฒนธรรม อันเนื่องจากดินแดนแห่งนี้เคยตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรขอมโบราณ อีกทั้งยังมีมนต์เสน่ห์ของแหล่งอารยธรรมโบราณชวนให้เดินทางไปสัมผัส รวมถึงมีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามหลายแห่ง เพราะฉะนั้น เราเลยจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับ "จังหวัดร้อยเอ็ด" ให้มากขึ้น
นี่เป็นคำขวัญของ "ร้อยเอ็ด" จังหวัดที่อยู่ตอนกลางของภาคอีสาน บริเวณลุ่มน้ำภาชี มีความเจริญรุ่งเรืองมากในยุคประวัติศาสตร์ และมีความหลากหลายในแง่ของศาสนาและวัฒนธรรม อันเนื่องจากดินแดนแห่งนี้เคยตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรขอมโบราณ อีกทั้งยังมีมนต์เสน่ห์ของแหล่งอารยธรรมโบราณชวนให้เดินทางไปสัมผัส รวมถึงมีสถานที่ท่องเที่ยวสวยงามหลายแห่ง เพราะฉะนั้น เราเลยจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับ "จังหวัดร้อยเอ็ด" ให้มากขึ้น
ประวัติ
บริเวณที่ตั้งจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน เดิมชื่อว่า เมืองสาเกตนคร หรือ อาณาจักรกุลุนทะนคร มีเจ้าผู้ครองนครเรียกว่า พระเจ้ากุลุนทะ เมืองสาเกตเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก ซึ่งมีเมืองขึ้นถึง 11 เมือง จากหลักฐานโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ขุดพบแหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัว สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 1,800-2,500 ปีมาแล้ว ต่อมาอิทธิพลของพุทธศาสนา ภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีได้แผ่ขยายเข้ามาเมื่อปลาย พุทธศตวรรษที่ 12-15 มีหลักฐานที่สำคัญ เช่น กลุ่มใบเสมาบริเวณหนองศิลาเลข ในเขตอำเภอพนมไพร พระพิมพ์ดินเผาปางนาคปรกที่เมืองไพร ในเขตอำเภอเสลภูมิ คูเมืองร้อยเอ็ด เจดีย์เมืองหงษ์ในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน
ใน พุทธศตวรรษที่ 16 วัฒนธรรมจากอาณาจักรขอมได้แพร่เข้ามา ปรากฏหลักฐานให้เห็นอยู่มาก เช่น ปรางค์กู่กาสิงห์ ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี กู่พระโกนาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ และประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพทางศาสนา ที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ ทำจากหินทรายและโลหะเป็นจำนวนมาก แต่หลัก ฐานเกี่ยวกับเมืองร้อยเอ็ดขาด หายไปประมาณ 400 ปี จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2231 เมืองเวียงจันทน์เกิดความไม่สงบ พระครูโพนสะเม็ด พร้อมผู้คนประมาณ 3,000 คน ได้เชิญเจ้าหน่อกษัตริย์อพยพลงมาตามแม่น้ำโขง แล้วมาตั้งมั่นอยู่ที่บริเวณเมืองจำปาศักดิ์ ผู้ปกครองเมืองจำปาศักดิ์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระครูโพนสะเม็ด จึงได้นิมนต์ให้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองเมืองจำปาศักดิ์
ต่อมาเจ้าหน่อกษัตริย์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทร พุทธางกูร ได้ขยายอิทธิพลไปในดินแดนต่าง ๆ เหนือสองฝั่งแม่น้ำโขง ได้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นหลายแห่งและส่งบริวารไปปกครอง เช่น เมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร เมืองรัตนบุรี เมืองคำทอง เมืองสาละวัน และเมืองอัตตะปือ เป็นต้น
ในปี พ.ศ. 2450 เมืองร้อยเอ็ดได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบริเวณร้อยเอ็ด โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 เมือง คือ เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองมหาสารคาม เมืองกมลาไสย และเมืองกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2453 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอของเทศาภิบาลข้าหลวงมณฑลอีสานว่า ควรแยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานีและมณฑลร้อยเอ็ด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นไปตามที่เสนอ มณฑลร้อยเอ็ดจึงมีเขตปกครอง 3 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์
ใน ปี พ.ศ. 2469 อำมาตย์เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจังหวัดร้อยเอ็ดเห็นว่า บึงพลาญชัย (เดิมใช้ว่าบึงพระลานชัย) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดตื้นเขิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้บึงก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอำเภอ มาขุดลอกบึงเพื่อให้มีน้ำขังอยู่ได้ตลอดปี ได้ดำเนินการขุดลอกบึงทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึงถึง 40,000 คน ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนเป็นมรดกที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดมาตราบเท่าทุกวันนี้
จังหวัดร้อยเอ็ด มีเนื้อที่ประมาณ 8,299 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,187,155 ไร่ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ โดยทางรถยนต์ประมาณ 512 กิโลเมตร นอกจากนี้ ร้อยเอ็ด ยังเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิชั้นดี มีชื่อเสียงโด่งดังจากอดีตถึงปัจจุบัน
จังหวัดร้อยเอ็ด ยังคงเป็นเมืองที่มีความน่าสนใจ ทั้งประเพณี และวัฒนธรรม อีกทั้งยังมีผลิตผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่มีชื่อเสียง เช่น ผ้าทอพื้นเมือง เครื่องจักสาน รวมถึงมีกิจกรรมท่องเที่ยวโดดเด่น คือ การชมวัดวาอาราม ชมสถาปัตยกรรมโบราณสถาน นมัสการพระพุทธรัตนมงคลมหามุนี พระพุทธรูปปางประทานพรที่สูงที่สุดในประเทศไทย
สถานที่ท่องเที่ยว
จังหวัดร้อยเอ็ด มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ธรรมชาติ วิถีชีวิตผู้คน โดยมีสถานที่ที่น่าสนใจ เช่น กู่พระโกนา ปรางค์กู่ หรือปราสาทหนองกู่ กู่กาสิงห์ บ้านหวายหลึม บึงพลาญชัย สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ ทุ่งกุลาร้องไห้ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ บึงเกลือ หรือทะเลอีสาน เป็นต้น
จังหวัดร้อยเอ็ด มีแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจมากมาย ทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ธรรมชาติ วิถีชีวิตผู้คน โดยมีสถานที่ที่น่าสนใจ เช่น กู่พระโกนา ปรางค์กู่ หรือปราสาทหนองกู่ กู่กาสิงห์ บ้านหวายหลึม บึงพลาญชัย สิมวัดไตรภูมิคณาจารย์ ทุ่งกุลาร้องไห้ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ บึงเกลือ หรือทะเลอีสาน เป็นต้น
บึงพลาญชัย
ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด ลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งด้วยสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่าง ๆ หลายพันธุ์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้งจัดมหรสพต่าง ๆ
ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นของคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพนับถือ และเชื่อว่าเจ้าพ่อจะช่วยดลบันดาลให้ชาวเมืองมีความสุข คิดสิ่งใดสมปรารถนา จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ชาวเมืองร้อยเอ็ด มากราบนมัสการขอพรเป็นประจำ พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้ พานรัฐธรรมนูญ นาฬิกาดอกไม้ ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นน้ำตกจำลอง และรูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ คล้ายสวนสัตว์ สนามเด็กเล่น และสวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด
วัดบูรพาภิราม
อยู่ในเขตเทศบาลเมืองร้อยเอ็ด เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี เดิมชื่อ วัดหัวรอ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดบูรพาภิราม มีพระพุทธรูปปางประทานพรที่สูงที่สุดในประเทศไทยคือ พระพุทธรัตนมงคลมหามุนี หรือหลวงพ่อใหญ่ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ความสูงขององค์พระวัดจากพระบาทถึงยอดเกศสูงถึง 59เมตร 20 เซนติเมตร และมีความสูงทั้งหมด 67เมตร 85เซนติเมตร ที่ฐานจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ หลวงพ่อใหญ่เป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองร้อยเอ็ดเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ ภายในบริเวณวัดยังเป็นที่ตั้งศูนย์งานพระธรรมทูต โรงเรียนปริยัติธรรม และมีศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์ซึ่งเป็นที่เคารพของชาวเมืองอยู่ด้วย
ผาน้ำย้อย (พุทธอุทยานอีสาน)
ตั้งอยู่ที่บ้านโคกกลาง ตำบลผาน้ำย้อย เป็นผาหินขนาดใหญ่ ซึ่งมีน้ำไหลซึมตลอดปีอยู่บนภูเขาเขียว แบ่งพรมแดนระหว่างอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ประมาณ 20,000 ไร่ เป็นป่าไม้เนื้อแข็งนานาชนิด มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น หมูป่า เก้ง กวาง ไก่ป่า ผาน้ำย้อยอยู่สูงจากระดับพื้นดิน 200 เมตร และสูงกว่าระดับน้ำทะเล 380-500 เมตร บนเขาลูกนี้มี วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ โดยมีพระอาจารย์ศรีมหาวิโร ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง
ตั้งอยู่ที่บ้านโคกกลาง ตำบลผาน้ำย้อย เป็นผาหินขนาดใหญ่ ซึ่งมีน้ำไหลซึมตลอดปีอยู่บนภูเขาเขียว แบ่งพรมแดนระหว่างอำเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร และอำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ มีเนื้อที่ประมาณ 20,000 ไร่ เป็นป่าไม้เนื้อแข็งนานาชนิด มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่หลายชนิด เช่น หมูป่า เก้ง กวาง ไก่ป่า ผาน้ำย้อยอยู่สูงจากระดับพื้นดิน 200 เมตร และสูงกว่าระดับน้ำทะเล 380-500 เมตร บนเขาลูกนี้มี วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ โดยมีพระอาจารย์ศรีมหาวิโร ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง
วัดผาน้ำทิพย์เทพประสิทธิ์วนาราม
ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกลาง ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก พระมหาเจดีย์ชัยมงคลนั้นได้เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2528 มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ โดยมีพระเทพวิสุทธิมงคล หรือหลวงปู่ศรีมหาวีโร ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากรรมฐานเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรม ในด้านการบำเพ็ญปฏิบัติ สมถวิปัสสนากรรมฐาน แก่พระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชน โดยการปฏิบัติจริงบนสถานที่จริงในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้
ตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกลาง ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก พระมหาเจดีย์ชัยมงคลนั้นได้เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2528 มีเนื้อที่ 2,500 ไร่ โดยมีพระเทพวิสุทธิมงคล หรือหลวงปู่ศรีมหาวีโร ซึ่งเป็นศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากรรมฐานเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรม ในด้านการบำเพ็ญปฏิบัติ สมถวิปัสสนากรรมฐาน แก่พระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชน โดยการปฏิบัติจริงบนสถานที่จริงในสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้
ปรางค์กู่ หรือ ปราสาทหนองกู่
ตั้งอยู่ที่บ้านยางกู่ ตำบลมะอึ ปรางค์กู่ คือ กลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกับอโรคยาศาล ตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม อันประกอบด้วยปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพงพร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร โดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ 3ชั้น และมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบน อาคารอื่น ๆ แม้หักพังแต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูร่มรื่นสะอาดตา
นอกจากนี้ ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังพบโบราณ วัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ ทับหลังหินทราย สลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัว ภายในซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล จากการสอบถามเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม กล่าวว่าเป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่ พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18
การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (ร้อยเอ็ด-ยโสธร) ประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอธวัชบุรี ฝั่งตรงข้ามมีทางแยกซ้ายไปปรางค์กู่ ระยะทาง 6 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 2044 (ร้อยเอ็ด-โพนทอง) ไปประมาณ 8 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปปรางค์กู่อีก 1 กิโลเมตร
ตั้งอยู่ที่บ้านยางกู่ ตำบลมะอึ ปรางค์กู่ คือ กลุ่มอาคารที่มีลักษณะแบบเดียวกับอโรคยาศาล ตามที่ปรากฏในจารึกปราสาทตาพรหม อันประกอบด้วยปรางค์ประธาน บรรณาลัย กำแพงพร้อมซุ้มประตูและสระน้ำนอกกำแพง โดยทั่วไปนับว่าคงสภาพเดิมพอควร โดยเฉพาะปรางค์ประธานชั้นหลังคาคงเหลือ 3ชั้น และมีฐานบัวยอดปรางค์อยู่ตอนบน อาคารอื่น ๆ แม้หักพังแต่ทางวัดก็ได้จัดบริเวณให้ดูร่มรื่นสะอาดตา
นอกจากนี้ ภายในกำแพงด้านหน้าทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ยังพบโบราณ วัตถุอีกหลายชิ้นวางเก็บรักษาไว้ใต้อาคารไม้ ได้แก่ ทับหลังหินทราย สลักเป็นภาพบุคคลนั่งบนหลังช้างหรือวัว ภายในซุ้มเรือนแก้วหน้ากาล จากการสอบถามเจ้าอาวาสวัดศรีรัตนาราม กล่าวว่าเป็นทับหลังหน้าประตูมุขของปรางค์ประธาน เสากรอบประตู 2ชิ้น ชิ้นหนึ่งมีภาพสลักรูปฤาษีที่โคนเสาศิวลึงค์ขนาดใหญ่ พร้อมฐานที่ได้จากทุ่งนาด้านนอกออกไป และชิ้นส่วนบัวยอดปรางค์ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นฐานของพระสังกัจจายน์ปูนปั้น สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18
การเดินทาง จากตัวเมืองใช้ทางหลวงหมายเลข 23 (ร้อยเอ็ด-ยโสธร) ประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงที่ว่าการอำเภอธวัชบุรี ฝั่งตรงข้ามมีทางแยกซ้ายไปปรางค์กู่ ระยะทาง 6 กิโลเมตร หรือใช้ทางหลวงหมายเลข 2044 (ร้อยเอ็ด-โพนทอง) ไปประมาณ 8 กิโลเมตร มีทางแยกขวาไปปรางค์กู่อีก 1 กิโลเมตร
ขอบคุณรูปภาพจาพ www.google.com